ฟังก์ชั่นบนมือถือ อาจจะถูกลุกล้ำความเป็นส่วนตัว
สำหรับฟังก์ชั่น การใช้งานไม่ว่าจะ Siri , Google Assistant หรือ Amazon ที่เป็นฟังก์ชั่นเพื่อการช่วยเหลือ ถูกออกแบบมาให้มีการใช้งานที่อำนวยความสะดวกรองรับการใช้งานสมาร์ทโฟนให้ง่ายมากขึ้นกว่าเดิม แต่ความสะดวกเหล่านั้นอาจจะเป็นสิ่งที่ทำให้เสียความเป็นส่วนตัวและการถูกละเมิดสิทธิก็ได้
ล่าสุดได้มีคดีความขึ้นศาล ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เกี่ยวกับการร้องเรียนระบบ การทำงานของทั้ง Siri , Google Assistant และ Amazon โดยรองศาสตราจารย์โนอาห์ กู๊ดแมน อาจารย์จากมหาวิทยาลัยสแตมฟอร์ดเป็นผู้ยื่นเรื่องร้องเรียนเป็นคดีความว่าฟังก์ชั่นการใช้งานจากทั้ง 3 ผู้ผลิตออกแบบมา ละเมิดความเป็นส่วนตัว
ด้วยวิธีการแอบฟัง จากฟังก์ชั่น การใช้งานด้วยเสียง ที่อยู่บนสมาร์ทโฟน ซึ่งรองศาสตราจารย์กล่าวว่าข้อกำหนดเทคโนโลยีของแต่ละบริษัทนั้นนอกจากการออกแบบเพื่อช่วยในการทำงานของสมาร์ทโฟนแล้ว ยังออกแบบคล้ายเครื่องดักฟังแบบเทคโนโลยี Wake word ที่สามารถใช้งานการดักฟังได้ซับซ้อนแม้ภาษาและสำเนียงที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคลก็สามารถดักฟังและจับข้อมูลได้
Google มีข้อกล่าวหาว่าใช้เก็บข้อมูลบนสนทนาเพื่อใช้ในการโฆษณาหรือการมองหาสิ่งที่ตรงความต้องการของผู้ใช้งาน ซึ่งจากข้อกล่าวหาทาง Google แจ้งว่าข้อมูลจะถูกจัดเก็บอย่างเป็นความลับปลอดภัยและการใช้งานก็จะสามารถตั้งค่าเพื่อไม่ให้ฟังและบันทึกเสียงได้
Apple ที่เคยมีการฟ้องร้องมาก่อนหน้าที่แล้ว ครั้งนี้ถูกกล่าวหาว่า Siri บันทึกเสียงข้อมูลของผู้ใช้งานแม้ว่าผู้ใช้งานจะได้เรียกเพื่อใช้งาน เพื่อเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลในการใช้โฆษณาและสามารถใช้เทคโนโลยีถอดคำพูดได้ ซึ่ง Apple ยืนยันว่าผู้ใช้งานสามารถเลือกอนุญาตหรือไม่อนุญาตในการเก็บข้อมูลได้
Amazon ที่มีการกล่าวหาว่าดักฟังและจะแสดงการใช้งานแม้ว่าผู้ใช้งานจะไม่ได้จงใจเรียกก็ตาม เพียงได้ยินเสียงข้อมูลก็จะเปิดการใช้งานเอง และมีการอัดเสียงเพื่อนำไปใช้เป็นการรีวิวการใช้บริการของฟังก์ชั่น นับว่าเป็นการละเมิดสิทธิของผู้ใช้งานรุนแรง แม้ว่าผู้ใช้งานจะเลือกไม่อนุญาตในการบันทึกเสียงและนำเสียงไปใช้ได้ก็ตาม
จากข้อกล่าวหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเป็นคดีความ เพราะเนื่องจาก การใช้งานที่รองรับ ความสะดวกสบาย เหล่านั้น นอกจากละเมิดสิทธิแล้ว อาจจะหมายถึงความปลอดภัยของผู้ใช้อีกด้วยเพราะไม่เพียงแต่ใช้เพื่อการโฆษณา การวิเคราะห์หรือเพื่อการรีวิว แต่มีโอกาสที่ข้อมูลเหล่านั้นจะรั่วไหล และส่งผล ต่อความปลอดภัย ได้ค่อนข้างมากด
จึงมีการฟ้องร้อง ส่งขอร้องเรียน ต่อศาลของสหรัฐ ให้ตรวจสอบการใช้งานและจุดมุ่งหมายของการใช้งานเพื่อจำกัดและควบคุมเรื่องการละเมิดสิทธิและการเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ของผู้ให้บริการ และออกคำสั่งระงับการให้บริการที่อาจจะส่งผลเสียต่อผู้ใช้บริการได้ และพัฒนาระบบให้มีความปลอดภัยได้มากกว่าเดิม ทั้งการใช้งานและสิทธิการเข้าถึงข้อมูล
ฟังก์ชั่นบนมือถือ อาจจะถูกลุกล้ำความเป็นส่วนตัว
- คริส พอล เปิดเผยอยากหวนคืนสู่ ทีมฟีนิกซ์ ซันส์
- ซีอีโอ IG ยอมรับ ไร้แผนพัฒนาแอปบน iPad
- คาร์ราเกอร์ งง สิงห์ซื้อ ฮาเวิร์ต์ซ์ ทำไม
- เป๊ปเห็นใจ โซลชาร์ เจอแรงกดดัน อย่างต่อเนื่อง
.
.